Custom Search

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการสร้าง DashBoard ง่ายๆ ใน Xcelsius

ครั้งแรกที่จะเขียน SAP BusinessObjects Xcelsius 2008 ไว้เป็นบทๆ อธิบายเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วนในโปรแกรม Xcelsius แต่คิดแล้วคงไม่เห็นภาพรวมสำหรับคนไม่เคยรู้จัก เลยลองทำขั้นตอน DashBoard ง่ายๆ ไว้เพื่อให้ได้เห็นภาพรวม

โดยขั้นตอนตามปกติในการสร้าง Xcelsius2008 หรือ โปรแกรม DashBoard อื่นๆ คือต้องมีข้อมูลก่อน และรู้ว่าต้องแสดงข้อมูล อะไร รูปแบบไหน


โดยตัวอย่างนี้จะนำข้อมูลจาก ไฟล์ Execl ซึ่งผมทำ Dummy Data ไว้เพื่อลองกับโปรแกรมดู

เมื่อเปิดโปรแกรม Xcelsius แล้วให้ไปที่ Toolbar Tab Data-->Import และเรียกไฟล์ Excel ที่เราต้องการใช้ข้อมูล
เมื่อเปิดไฟล์เรียบร้อย ถ้าไม่มีปัญหาอะไรข้อมูลก็จะมาแสดงที่ Excel ของโปรแกรม Xcelsius
ให้ไปเลือกที่ Componets ในส่วนของ Chat แล้วลากออกมาวางในโปรแกรม Xcelsius โดยในตัวอย่างนี้จะใช้ Pie Chart
เมื่อลากมาวางที่ Workspace ใน Xcelsius แล้ว Chart จะปรากฎขึ้น




เลือกที่ Chart แล้ว Canvas Properties จะกลายเป็น Pie Chart แล้วจึงเลือกข้อมูลที่ต้องการให้ Chart แสดงผล ตามค่าต่า่งๆ
เมื่อเสร็จแล้วข้อมูลจะแสดงออกมาตามรูปที่เราได้ใส่ข้อมูลลงไปจากนั้นให้ทำการ Export ไฟล์ออก ไปที่ File--> Export แล้วเลือกรูปแบบการแสดงผล


ถือเป็นการเสร็จสิ้นการทำ DashBoard โดยเราสามารถนำไฟล์ที่ประมวลไปใช้งานได้ ซึ่งออกมาเป็น Format ของ AdobeFlash โดยสามารถนำไปฝังไว้ในเว็บหรือApp ได้

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Workspace ของ Xcelsius2008

ในโปรแกรมของ SAP BusinessObjects Xcelsius 2008 เป็นโปรแกรมในการสร้าง DashBoard หรือ Visualizations ซึ่งมีองค์ประกอบของโปรแกรมนั้นมีส่วนประกอบนั้นนี้
องค์ประกอบ Xcelsius แบ่งง่ายๆ เป็นดังนี้

  • Canvasเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างสรรภาพกราฟฟิคต่างๆ ของ DashBoard หรือ Visualizations ใน Xcelsius 2008 โดยเราสามารถนำที่สิ่งทุกอย่างที่เป็น Components ลากมาวางบน Canvas
  • embedded spreadsheet หรือ Execl เป็นที่สำหรับใส่ข้อมูล Input เพื่อนำไปแสดงผลบนกราฟฟิค Components ของ Xcelsius และสามารถใช้สูตรของ Excel ได้โดยส่วนใหญ่ (มีข้อยกเว้นบาง เช่น Vlookup เป็นต้น)โดยโปรแกรม Xcelsius จะเรียกโปรแกรม Microsotf Excel มา ดังนั้นในเครื่องต้องมีโปรแกรม MS Excel ด้วย ไม่งั้นจะไม่สามารถเปิด Xcelsiusได้
  • Components Browser เป็นที่เก็บสิ่งที่ Object ต่างๆ จะนำมาใช้สร้าง Dashbroad หรือ Visualizations Xcelsius
  • Canvas Properties เป็นตัวปรับแต่ง Canvas เพื่อเพิ่มความสวยงามของ Xcelsius
  • ToolBar

ที่วางปุ่มและเมนูคำสั่งต่างๆ ของ Xcelsius

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประเภทของ Objects ใน Universe

ครั้งที่แล้วพูดเรื่อง Class ใน Universe ของ SAP BusinessObjects คราวนี้มาดูตัว Objects ใน Class บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่โดนลากไปวาง เพื่อ Run SQL ออกมาเป็นหลายต่อนั้นเอง



ใน Universe ของ SAP BusinessObjects ได้แบ่งประเภทของ Object เป็นดังนี้

มาดูตามภาพต่างๆ นะครับ

Icon สีน้ำเงินคือ Dimension Object ทำหน้าที่อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานในรายงาน โดย dimension หรือมิติของข้อมูลนั้นจะเป็นตัวอักษรโดยส่วนใหญ่ไม่นำไปคำนวณ เช่น ลูกค้า อายุ วันที่ สินค้า เป็นต้น

Icon สีเขียวคือ Detail Object ทำหน้าที่ให้รายละเอียดกับข้อมูลเกี่ยวกับ dimension โดยข้อมูลนี้จะติดตามตัว Dimension Object ไปทุกที เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Dimension เช่น ลูกค้า มีชือ สกุล อะไรเป็นต้น

Icon สีเหลือง คือ Measure Object เป็นข้อมูลที่ใช้ในการแสดงค่าตัวเลขโดยผลของข้อมูลนั้นมาจากการคำนวณข้อมูลจาก Database โดย Measure นั้นมี 2 ประเภท คือ
  1. Classic measures คำนวณจาก Web Intelligence
  2. Smart measures คำนวณจาก Database บน Universe โดยใช้พวก สูตรจาก Web intelligence

วิธีสร้าง Class ใน Universe

การสร้าง Class ใน Universe ของ SAP BusinessObjects พูดให้ง่ายๆ ก็คือการสร้าง Folder ที่เราต้องการเก็บ Objects นั้นเอง

ซึ่งขั้นตอนการสร้าง Class ทำดังต่อไปนี้ครับ

ไปที่ Toolbar ด้านบน แล้วเลือก ปุ่ม ที่เป็นรูปโฟร์เดอร์ ชื่อปุ่มว่า "Insert Class" จากนั้นเมื่อก่อนแล้วจะมี Box ให้เราทำการตั้งชื่อ และคำอธิบาย
ซึ่งในคำอธิบายของ Class นี้ ตามหลักควรใส่ให้เข้าใจง่ายนะครับ เพราะเวลาคนอื่นมาแก้ได้สะดวกในการทำความเข้าใจ Class ที่เราสร้างใน Universe ของ SAP BusinessObjects

และเมื่อกด OK ก็จะแสดง Class ที่เราสร้างได้ ให้เห็นใน Universe ของ SAP BusinessObjects

ส่วนในกรณีที่เราอยากสร้าง Subclass เพื่อเติมใน Universe ของ SAP BusinessObjects ก็ทำได้ไม่ยากครับ

ก็กด click ขวา แล้วจะแสดง Context menu ให้เราเลือกที่ Subclass ซึ่งแค่นี้ก็เสร็จสิ้นการสร้าง Subclass แล้วครับ

บทความนี้ก็เป็น การใช้ SAP BusinessObjects แบบเริ่มต้นง่ายๆ นะครับ

Class และ Subclasses ใน Universe

ใน Universe ของ BusinessObjects นั้นมีองค์ประกอบของ Objects ในการอธิบายข้อมูลไว้ 2 แบบ คือ Class กับ subclasses

โดย Objects ที่ถูกจับกลุ่มไว้ในFolders เรียกว่า Classes โดยในแต่ละ Class สามารถมี subclass มากกว่า 1 ขึ้นไปได้ และ Subclass บรรจุ Object ซึ่งอยู่ใน Subcategory ของ Object ในระดับที่สูงกว่า

โดยหน้าที่ของ Class นั้นคือการจัดลำดับของ Objects ไว้เป็นกลุ่ม เมื่อทำการสั่ง Query จาก Universeแล้ว Class จะช่วยหา Objects ที่แสดงข้อมูลที่เราต้องการ Query

ดูจากรูปนะครับ Class จะอยู่ชื่อ Folders ต่างๆ เช่น Product, Store, Measure เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าจะมี Objects ในนั้นหลายตัว และ หลายประเภทด้วย

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

InfoView

ใน SAP BusinessObjects มีApplication ตัวหนึ่งใช้ทำงานเชื่อมต่อจัดการ รายงานต่างๆ กับผู้ใช้ นั้นคือ InfoView ซึ่งถือเป็น portal ของ SAP BusinessObjects นั้นเอง ซึ่งเราสามารถทำงานบน Application ต่างๆ เช่น Crystal report, Web intelligence, Desktop intelligence และอื่นๆ ผ่านจาก InfoView ได้

โดยหลังจากเราได้รับ Username Password จาก Admin ที่ใช้ Application ของ CMC กำหนดสิทธ์ของ User แล้ว เราก็สามารถเข้าไปใช้งานใน InfoViewของ SAP BusinessObjects ได้ทันที

โดยวิธีเข้าใช้ InfoView นั้นทำตามขั้นตอนดังนี้


โดยวิธีเข้าใช้ InfoView นั้นทำตามขั้นตอนดังนี้
ไปที่ Web explore แล้วพิมพ์ http://servername:8080/InfoViewApp พอพิมพ์แค่นี้ ก็จะเข้า InfoView
จากนั้น ก็พิมพ์ username password ที่ได้มา ก็จะทราบเข้าระบบได้
ซึงเราสามารถใช้งาน SAP BusinessObjects ได้จาก InfoView ที่เปิดมาอยู่นี้เอง

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Central Management Console (CMC)

Central Management Console (CMC) เป็นเครื่องมือของ Administrator ตัวหนึ่งของ SAP BusinessObjects โดยเป็น Web base application มีไว้สำหรับการจัดการเรื่องให้สิทธ์ในการเข้าถึงระบบต่างๆ ใน SAP BusinessObjects จัดการเรื่อง User การเพิ่ม ลด ให้ สิทธ์ต่างๆ แก่ผู้ใช้

นอกจากนั้น CMC ยังสามารถทำเรื่องจัดการต่างๆ เกี่ยวกับ object หรือวัตถุต่างๆ และการจัดระเบียบ ใน SAP BusinessObjects เช่น การประกาศ การเข้าถึง และการสร้าง Folder, Categories รวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับพวกตารางเวลาการทำงานของ SAP BusinessObjects เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

รู้จักกับ Xcelsius

ตัว Application ตัวหนึ่ง ใน SAP BusinessObject ที่เป็นเครื่องมือไว้ทำพวก Dashboard คือ Xcelsius ซึ่งถือว่าเป็น Business Intelligence อีกตัว
โดยพวก Dashboard นั้นส่วนใหญ่ไว้ทำงานกับพวก Preferment Management เห็นให้ทราบ Preferment ในภาพรวมต่างๆ เพื่อการจัดการที่ดี

โดยเราสามารถโหลด Xcelsius ได้จากเว็บไซด์ของ SAP ที่ http://www.sap.com/solutions/sapbusinessobjects/sme/freetrials/index.epx ซึ่งเป็นสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และอีกตัวสำหรับผู้พัฒนา http://www.sdn.sap.com/irj/boc/xcelsius-sdk โดยตัวนี้ตจะแถม SDK ให้นำมาพัฒนาส่วนองค์ประกอบของ Xcelsius เพิ่มเติมโดย Flex Builder ชองค่าย Adobe

Spec ขั้นพื้นฐาน
1.0 GHz processor
1GB RAM
350 MB hard disk space

Windows platform รู้สึกจะไม่มี platform อื่น
Microsoft office สำคัญมาก โดยเฉพาะ Excel เคยลงตอนไม่มี Excel เปิดไม่ได้นะครับ

ก็ลองโหลดมาใช้ดูนะครับ ลงปกติไม่ยากมาก หัดดู สำคัญที่ Excel ครับ ควรใช้ สูตรให้เป็นเยอะๆ


วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

การตั้ง password ของ root ใน mysql ผ่าน XAMPP

root เป็นคำเรียกคนที่มีสิทธิ์สูงสุดในการจัดการโปรแกรมนั้นๆ บางทีก็อาจเรียก Admin ก็ได้ โดยในชุด XAMPP นั้น ส่วนใหญ่ที่ได้รับมาจะเป็นของอัตโนมัติ คือมาถึงแล้วใช้ได้เลย ไม่ต้อง Set ค่าอะไรมา แต่ความจริงการทำงานกับ ระบบอื่นๆ ต้องอาศัยเรื่องการตั้งค่า password เพื่อให้ระบบอื่นๆ สามารถเข้ามาจัดการ Database ได้ โดยต้องมี มี Passeword ของ Root เพื่อเข้าไปสร้าง Database ของ Mysql เพื่อให้ระบบนั้นๆ มีฐานข้อมูลที่ใช้งานเองได้

โดยวิธีการตั้ง Password Root ของ Mysql นั้น ก็เป็นดังขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้ามาที่ Localhost หรือใน XAMPP ก่อน
2.เป็นที่ Navigator Bar ด้านซ้าย เลือกที่ Security
3. เราจะเข้ามาที่หน้า Security Check โดนจะบอกข้อมูลต่างๆ ของความปลอดภัยใน XAMPP โดยให้เราไปที่ Link ด้านล่าง http://localhost/security/xamppsecurity.php

4. เมื่อเราเข้ามาแล้ว จะให้ทำการ set password ของ root ให้เราจัดการใส่ password ซะ แล้วกด password changing

5.เมื่อทำสำเร็จแล้ว ก็จะถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการแค่นี้เราก็ทราบว่า password ของ root ใน mysql คืออะไร